กรมชลประทาน ปรับแผนการระบายน้ำ เนื่องจากอิทธิพลพายุ คมปาซุ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย
1,416 อ่าน
กรมชลประทาน ปรับแผนการระบายน้ำ เนื่องจากอิทธิพลพายุ คมปาซุ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย จากอิทธิพลจากพายุโซนร้อน คมปาซุ ทำให้ฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะไหลลงมาที่แม่น้ำปิงและรวมกับแม่น้ำน่าน ที่จังหวัดนครสวรรค์
นายธนากร ตันติกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากอิทธิพลจากพายุโซนร้อน คมปาซุ ทำให้ฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะไหลลงมาที่แม่น้ำปิงและรวมกับแม่น้ำน่าน ที่จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ปริมาณน้ำที่ สถานี C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นไหลผ่านในอัตรา 2,691 ลบ.ม./วินาที ลดลงเหลือในอัตรา 2,644 ลบ.ม/วินาที เมื่อรวมปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังอีก 275 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้มีปริมาณน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการควบคุมการระบายน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
กรมชลประทาน จึงปรับแผนการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง โดยปรับเพิ่มการรับน้ำเข้าฝั่งตะวันตกลงแม่น้ำน้อย และฝั่งตะวันออก เพิ่มการรับน้ำเข้าคลองชัยนาท- ป่าสัก จาก 131 ลบ.ม./วินาที เพิ่มเป็น153 ลบ.ม./วินาที โดยจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ พร้อมหน่วงน้ำไว้เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ควบคู่กับควบคุมระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมๆ กับควบคุมการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ณ วันที่ 22 ตุลาคมนี้ ระบายจาก 2,771 ลบ.ม./วินาที ลดการระบายน้ำลงเหลือ 2,758 ลบ.ม./วินาที มีผลทำให้ระดับน้ำเริ่มทรงตัวบริเวณแม่น้ำน้อย ได้แก่ อำเภอผักไห่ เสนา บางบาล ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำที่พระตำหนักสิริยาลัยและวัดไชยวัฒนาราม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร
สำหรับแม่น้ำป่าสัก การระบายท้ายเขื่อนป่าสักฯ ระบายอยู่ในเกณฑ์ 600 ลบ.ม/วินาที ท้ายเขื่อนพระรามหก ควบคุมระบายอยู่ในเกณฑ์ 692 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำทรงตัวรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์เพิ่มขึ้นจาก 141 ลบ.ม/วินาที เป็น 161 ลบ.ม/วินาที ส่วน จุดวัดน้ำที่ อำเภอบางไทรก่อนเข้า กทม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,156 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 36 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน พร้อมกันนี้ กรมชลประทานได้ระบายน้ำเข้าทุ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยผันน้ำเข้าทุ่งผักไห่ บางบาล-บ้านแพน เพื่อบรรเทาน้ำท่วมสูงของชุมชนริมฝั่ง ช่วงที่เขื่อนเจ้าพระยายังคงระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุ่งแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 4 อำเภอ 2 จังหวัด ได้แก่ อำเภอเสนา ผักไห่ บางบาล และอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2025-03-29 ] ศูนย์วิจัยข้าวอยุธยา เตรียมนำข้าวขึ้นน้ำ 9 สายพันธุ์แปรรูป สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร....
- วันที่[2025-03-23 ] GULF - CMWTE ผนึกกำลังชุมชนบ้านทุ่งยาว ดอยสะเก็ดฯ ลด PM 2.5 ทำแนวกันไฟ คืนสมดุลให้ป่าด้วยจุลินทรีย์....
- วันที่[2025-03-19 ] เกษตรชลฯ ลงพื้นที่ให้กำลังใจผู้ร่วมการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ระดับเขต ปี 68....
- วันที่[2025-03-19 ] Gulf MTP ร่วมกับ ศูนย์ฯ ข่าวไทกรุ๊ป จัดกิจกรรมฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนด้วยจุลินทรีย์ จ.ระยอง....
- วันที่[2025-03-16 ] กัลฟ์ 1 เปิดตัว “วันอาทิตย์” แบรนด์โซลาร์บ้านครบวงจร บุกตลาดค้าปลีกพลังงานสะอาด ผ่าน AIS Shop ทั่วประเทศ....
- วันที่[2025-03-14 ] พานาโซนิค ผนึกกำลัง อายิโนะโมะโต๊ะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างปอดให้ชุมชนในจังหวัดอยุธยา....
- วันที่[2025-03-08 ] นายก อบต. จับมือ กำนัน ต.ลาดตะเคียน กบินทร์บุรีฯ เดินหน้า ยุทธศาสตร์ “เมืองจุลินทรีย์” เพื่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชน....
- วันที่[2025-02-27 ] นายก อบต. - กำนัน ต.ลาดตะเคียน กบินทร์บุรีฯ จับมือ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ ส่งเสริมยุทธศาสตร์ “เมืองจุลินทรีย์” เพื่อพัฒนาชุมชน....
- วันที่[2025-02-26 ] อยุธยา – นอภ.บางปะอิน ลงมือทำเมนูเด็ดแซนด์วิชปลา “การทำแซนด์วิชปลา ลดการเผาฟาง”....
- วันที่[2025-02-24 ] อยุธยา - นอภ.บางปะอิน ( Kick Off) นั่งรถแห่ เคาะประตูบ้าน “หยุดเผา หยุดฝุ่น เพื่อคุณเพื่อเรา”....