โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ - ขยายนวัตกรรมจุลินทรีย์สู่ระดับครัวเรือน พัฒนาอาชีพสร้างรายได้ชุมชน
61 อ่าน
โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ - ขยายนวัตกรรมจุลินทรีย์สู่ระดับครัวเรือน พัฒนาอาชีพสร้างรายได้ชุมชน
โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ จับมือกับ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ตำบลลาดตะเคียนฯ จัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน ด้านความรู้ฐานชีวภาพ และจุลินทรีย์ และระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ในระดับครัวเรือนได้ หลังจากนั้น จัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน”
วันที่ 3-6 กรกฎาคม 2568 โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ โดย นายประสิทธิ์ หงษ์นิล ผช.ผจก.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ. ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) วิทยากร ร่วมมือกัน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ตำบลลาดตะเคียนฯ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตและประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน ด้านความรู้ฐานชีวภาพ และจุลินทรีย์ และระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หลังจากนั้น กำนัน อัครเดช กัณหารี ร่วมกับชาวบ้าน และโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ จัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน” ขึ้น ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 9 ต.ลาดตะเคียนฯ และได้นำจุลินทรีย์หัวเชื้อแจกจ่ายให้ชาวบ้านในตำบล นำไปเพาะเลี้ยงและใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและการเกษตรฯ มาอย่างต่อเนื่อง
การต่อยอดในครั้งนี้ ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมนวัตกรรมจุลินทรีย์สู่ระดับครัวเรือน เป็นครัวเรือนนำร่องและแปลงสาธิต การฟื้นฟูดินให้มีชีวิต มีจุลินทรีย์ และอินทรีย์วัตถุธาตุสารอาหาร หรือการเลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช และพืชเลี้ยงคนสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ในหลายหมู่บ้าน จัดอบรมองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ในระดับครัวเรือนได้ เช่น การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ การหมักปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุท้องถิ่น อาทิ ใบไม้ ฟาง เศษอาหาร ฯลฯ การทำหัวเชื้อสารอาหารพืชที่มีคุณภาพสูง (เทียบเท่าปุ๋ยเคมี) ขยายผลในการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมักอินทรีย์แบบผง และก้อน ที่มีสารธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และอาหารเสริม เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน ปลูกผัก อ้อย ข้าวโพด และทำนา การทำสารสมุนไพรไล่แมลงและโรคพืช การฟื้นฟูดิน การทำปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆ และ ดินปลูกคุณภาพ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามผลการนำสารอาหารพืช (ปุ๋ยน้ำชีวภาพ) ที่ผลิตครั้งที่ผ่านมานำไปใช้ปลูกพืชผัก ไม้ผล มะนาว ไร่อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น มีผลการนำไปใช้ตอบสนองที่ดี พืชแข็งแรง เติบโต และมีการผลิดอก ออกผล ดีขึ้นมาก (ตัวอย่าง ที่บ้านของ ประธาน อสม.หมู่ 9 ฯ หรือบ้านท่านกำนัน เป็นต้น) ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง และกำลังขยายผลสู่ครัวเรือนต่างๆ ต่อไป
นายประสิทธิ์ หงษ์นิล ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ฝ่ายบริษัทฯ โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ กล่าวว่า ผมได้รับมอบหมายจากผู้บริหารฯ นายจิรศักดิ์ มีสัตย์ ผอ.อาวุโส ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ฯ มอบนโยบายบริษัทฯ ซึ่งให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งด้าน อาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับชุมชน ในกิจกรรมต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้เป็นอีกโครงการฯหนึ่งที่สำคัญเพราะชาวบ้านให้ความสนใจมาก เพื่อนำไปใช้ลดต้นทุนและพัฒนาการเกษตรครัวเรือนได้ในหลายๆด้าน กิจกรรมที่ขับเคลื่อนได้ดีและต่อเนื่องนั้น เพราะชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง ทั้งท่านนายก อบต. ท่านกำนัน ฯ ซึ่งสนใจและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ครับ ซึ่งทางบริษัทฯ เป็นสมาชิกหนึ่งในพื้นที่ฯ ยินดีร่วมส่งเสริมและสนับสนุนครับ
ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ วิทยากรในโครงการฯ (อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัย ฯลาดกระบัง) กล่าวว่า โครงการฯนี้ขับเคลื่อนได้ดีมีประสิทธิภาพมากพอสมควรครับ ทั้งนี้มีปัจจัยบวกมีการขับเคลื่อนที่มีพลัง คือ ประการที่ 1 มีผู้นำชุมชน (ท่านนายก อบต. /ท่านกำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน/ ผู้นำ อสม . กลุ่มสตรี ฯลฯ) ที่มีวิสัยทัศน์ กระตือรือร้น ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้าน ประการที่ 2 ชาวบ้านให้ความสนใจให้ความร่วมมือดีมากกระตือรือร้นในการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการทำงานและนำไปปฏิบัติจริง ประการที่ 3 มีภาคธุรกิจเอกชน อย่างโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ ที่มีนโยบายและส่งเสริมชุมชนอย่างเป็นระบบ มีองค์ความรู้ และนักวิชาการหลากหลาย มาช่วยเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนเกิดการเสริมแรงขับเคลื่อนร่วมกันและอย่างต่อเนื่อง
ประการที่ 4 โครงการนี้ มีแนวคิดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของชุมชน โดยเพาะด้านการเกษตร การลดต้นทุน และ การพึ่งตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ที่ อบต. และกำนัน ดำเนินการอยู่เป็นพื้นฐาน ประการที่ 5 มีการรวมกลุ่มและจัดตั้งองค์กรชุมชน ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ และธนาคารจุลินทรีย์ /วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ เป็นปัจจัยสำคัญของกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมั่นว่าชุมชนจะสามารถพัฒนาขยายผลสู่เป้าหมาย และเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมได้ ซึ่งทางบริษัทฯจะประสานนักวิชาการ มาเสริมศักยภาพแก่ชุมชน และยินดีร่วมสนับสนุนชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อประโยชน์ต่อชาวบ้านในพื้นที่ต่อไป.. ครับ
ทีมข่าวเฉพาะกิจ / รายงาน
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2025-07-08 ] โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ - ขยายนวัตกรรมจุลินทรีย์สู่ระดับครัวเรือน พัฒนาอาชีพสร้างรายได้ชุมชน....
- วันที่[2025-07-08 ] โครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมฯ นิคมไฮเทคฯ - ส่งเสริมจุลินทรีย์ฯ สร้างสุขภาวะที่ดีห้องน้ำสะอาด ณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 กบินทร์บุรีฯ....
- วันที่[2025-06-28 ] เชียงใหม่ - ชาวบ้านทุ่งยาวฯ ยกระดับการจัดการป่าชุมชน จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน....
- วันที่[2025-06-25 ] เมืองพัทยา - ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพิ่มความสมดุลทางธรรมชาติชายหาดจอมเทียน ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน....
- วันที่[2025-06-12 ] กัลฟ์ฯ GULF –CMWTE - เพิ่มศักภาพชุมชนฟื้นฟูป่าต้นน้ำดอยสะเก็ด เชียงใหม่ กว่า 3,000 ไร่ คืนสมดุลให้ป่าชุมชนด้วยจุลินทรีย์ไมคอร์ไรซ่า ครั้งที่ 3....
- วันที่[2025-06-12 ] กษ.อุบลราชธานี – บูรณาการจัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)”....
- วันที่[2025-06-10 ] ราชมงคลสุวรรณภูมิ - ผนึกกำลังปลูกต้นไม้ สร้างพื้นที่สีเขียว คืนลมหายใจให้โลก....
- วันที่[2025-06-07 ] อยุธยา – เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ติดตามผลการดำเนินงาน “ลดการเผาตอซังฟางข้าวในแปลงนา”....
- วันที่[2025-05-25 ] เกษตรอยุธยา – น้อมรำลึกเฉลิมพระเกียรติจัดกิจกรรม “แปลงนาสาธิตทุ่งมะขามหย่อง”....
- วันที่[2025-05-15 ] อยุธยา – ส.ป.ก. - กยท. บูรณาการขับเคลื่อนโครงการ “kick Off การมอบโฉนดต้นไม้และโฉนดต้นยางพารา”....