เกษตรอยุธยา จัดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน ครั้งที่ 10 หนุนการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เกษตรอยุธยา จัดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน ครั้งที่ 10 หนุนการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับเกษตรจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน จัดงาน “วันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน”  ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หนุนต่อยอดการเพาะเห็ดตับเต่ามีคุณค่าทางอาหารสูง รสชาติเทียบ “เห็ดทรัฟเฟิล” ของฝรั่งเศส สร้างเมนูซิกเนเจอร์ หาทานได้เฉพาะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น

          เวลา 11.00 น. วันที่ 25 กรกฎาคม 2563  นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานเปิดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน ครั้งที่ 10 โดยมี นางนวลจันทร์ แย้มศรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดฯ นางสมทรง พันธุ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นางพิศมัย เลิศอิทธิบาท ประชาสัมพันธ์จังหวัดฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ)  นายวรชันย์ หลักกรด เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายมานัส ทรัพย์มีชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฯ นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ นายอำเภอบางปะอิน นายณัฐพล รื่นถวิล ผู้ใหญ่บ้าน  หมู่  5  หัวหน้าส่วนราชการ อบต.สามเรือน ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น สื่อมวลชน นักท่องเที่ยว และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน ภายในงานได้จัดการเสวนา หัวข้อ “การเพาะเห็ดตับเต่าในภาคเหนือกับพืชไม้ผล” โดย อาจารย์นันทินี ศรีจุมภา จากศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย  กิจกรรมการประกวดเห็ดตับเต่า การสาธิตเมนูอาหารจากเห็ดตับเต่า โดยเชฟชื่อดัง เพื่อสร้างมูลค่าและช่องทางการตลาด ลงล่องเรือและนั่งรถรางชมการท่องเที่ยวภายในชุมชนสามเรือน และออกร้านจำหน่ายเห็ดตับเต่าและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดตับเต่า ณ บริเวณศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เห็ดตับเต่า) ต.สามเรือน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

          นายภานุ แย้มศรี กล่าวว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นการอนุรักษ์และต่อยอดการเพาะเห็ดตับเต่า โดยสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบว่าเห็ดตับเต่าของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย  พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในการเพาะเห็ดตับเต่าเป็นอาชีพเสริม  และเห็ดตับเต่ายังมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด รสชาติและเนื้อของเห็ดตับเต่า มีความคล้ายกับ “เห็ดทรัฟเฟิล” ของฝรั่งเศส  ที่มีราคาแพงถึงกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท ทั้งยังเป็นเห็ดที่ปลอดสารพิษ  เพราะขึ้นเองตามธรรมชาติ  หากนำมาปรุงอาหารให้เกิดเมนูซิกเนเจอร์ จะหาทานได้เฉพาะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น เนื่องจากสามารถเก็บจำหน่ายได้เพียง 4 เดือนต่อปี ซึ่งมีเอกลักษณ์ในรสชาติที่ไม่เหมือนใคร ความต้องการในท้องตลาดสูง แนวคิดอนุรักษ์และต่อยอดจึงเกิดขึ้น รวมถึงยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรทางธรรมชาติไว้รองรับ มีที่พักเชิงนิเวศ การทำประมงตามวิถีพื้นถิ่นดั่งเดิม อีกทั้งเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  การจัดงานนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน และหน่วยงานต่างๆ อย่างดียิ่ง จึงขอเชิญชวนชาวอยุธยาหันมาเพาะเห็ดตับเต่า เพื่อเสริมรายได้อีกช่องทาง สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจมาศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สามารถติดต่อมาที่ ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เห็ดตับเต่า) ตำบลสามเรือน

          นายวรชันย์  หลักกรด  กล่าวว่า  เห็นตับเต่า พบมากในพื้นที่ตำบลสามเรือน อ.บางปะอิน และ ตำบลบ้านช้าง อ.อุทัย  เกษตรกรผู้เพาะเห็นตับเต่า ประมาณ 227 ราย พื้นที่เพาะเห็นตับเต่าประมาณ 270 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,800 กิโลกรัม ต่อไร่  ผลผลติตทั้งปี 495 ตัน  เห็นตับเต่าเป็นพืชเศรษฐกิจในท้องถิ่น มีการจำหน่ายแบบสด ร้อยละ 40 ราคาจำหน่ายหน้าแปลง กิโลกรัมละ 70-90 บาท ต่อกิโลกรัม  แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าร้อยละ 60 ราคาจำหน่ายแปรรูป กิโลกรัมละ 100-120 บาท ต่อกิโลกรัม รวมมูลค่าเห็ดตับเต่าต่อปี 41.76 ล้านบาท ซึ่งการเก็บข้อมูลเพื่อวิจัยในพื้นที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมกับชุมชนวิจัยเรื่องการเพาะเห็ดตับเต่าในชุมชนพบว่า  การวิจัยและพัฒนา “เชื้อเห็ดตับเต่า” ซึ่งปกติแล้วเห็ดตับเต่าไม่สามารถเพาะเลี้ยงนอกสภาวะธรรมชาติได้ พบว่าเห็นตับเต่าเจริญเติบโตได้ดีมากในแปลงที่ดินมีธาตุอาหารสูงและมีความเป็นกรดสูง  เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดตับเต่าได้มากถึง 2,500 กิโลกรัมในพื้นที่ 10 ไร่ องค์ความรู้เหล่านี้นอกจากจะช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นโมเดลสำหรับการเพาะเห็ดตับเต่าในพื้นที่อื่นได้ด้วย

ข่าวล่าสุด


- วันที่[2024-04-08 ] อยุธยา อบต.บ้านกลึง ปรับภูมิทัศน์เทิดพระเกียรติในหลวง 1 อปท.1 คลองสวยน้ำใส น่ามอง ปราศจากวัชพืช และขยะทั่วไป....


- วันที่[2024-03-31 ] สกจ.อยุธยา จับมือกับ สพม.อยุธยา บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) หนุนสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้กับนักเรียน ต่อยยอดอาชีพเสริมด้านการเกษตร....


- วันที่[2024-03-29 ] สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เตรียมจัดงาน “มหกรรมยางพาราและเกษตรแฟร์ EEC ไทย-จีน 2024” อย่างยิ่งใหญ่....


- วันที่[2024-03-28 ] ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP ผนึกกำลัง ประมงจังหวัด โรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มประมง เดินหน้าฟื้นฟูป่าชายเลน ทต.เนินพระ จ.ระยอง ต่อเนื่อง ปีที่ 3....


- วันที่[2024-03-26 ] มูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จัดการประชุมเต่าทะเลนานาชาติ ครั้งที่ 42....


- วันที่[2024-03-18 ] อยุธยา ท่าเทียบเรือบริษัท เยนเนอรัล มิลล์ คอร์ปอร์เรชั่น จก. เปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2....


- วันที่[2024-03-08 ] ป.ป.ช. อยุธยา ลงพื้นที่ตรวจศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา” ในพื้นที่อำเภอนครหลวง สามารถขับเคลื่อนและต่อยอด พร้อมเดินหน้าเพิ่มพื้นที่เป็นศูนย์เรียนรู้....


- วันที่[2024-01-18 ] กรมทะเลและชายฝั่งที่ 1 และ 2 เปิดปฏิบัติการพื้นที่เกาะริ้น จ.ชลบุรี เก็บกู้ซากอวนปกคลุมแนวปะการังกว่า 700 ตร.ม. น้ำหนักรวม 338 กก.....


- วันที่[2024-01-10 ] สุพรรณบุรี - 5 เดือน ยุทธการ “ผิวน้ำเมืองขุนแผน” จับกุมทำประมง-ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายเพียบ ยึดไอ้โง่ 287 ปาก อุปกรณ์ช็อตปลา 23 ชุด !....


- วันที่[2023-12-29 ] นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสวนยางพาราในเขตภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด....


ดูข่าวทั้งหมด