คพ.ติวเข้มเครือข่ายประสานงานระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ำ
1,352 อ่าน
คพ.ติวเข้มเครือข่ายประสานงานระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ำ
กรมควบคุมมลพิษ ระดมกึ๋นเครือข่ายประสานงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนผู้ใช้น้ำในภาคการเกษตร ในครัวเรือน ในอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ระบบคาดการณ์และเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ำ การตัดสินใจในการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน 12 จังหวัด
เวลา 10.00 น. วันที่ 14 มี.ค. 60 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ประธานเปิดการสัมมนาเครือข่ายประสานงานระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ำ โดยเชิญวิทยากร ดร.สุรศักดิ์ คลังสุภาวิวัฒน์ บรรยายสรุป การจัดทำระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ำ โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) เครื่องมือในการวิเคราะห์และคาดการณ์คุณภาพน้ำ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System, DSS) เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในการแจ้งเตือนภัยและแก้ไขปัญหาวิกฤตคุณภาพน้ำ โดยมี นางณัฎฐ์สรวง สุคนธาภิรมย์ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน ประชารัฐ ภาครัฐ ประชาชนผู้ใช้น้ำในภาคการเกษตร ในครัวเรือน ในภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน 12 จังหวัด จำนวนกว่า 200 คน ร่วมสัมมนาถกปัญหาเพื่อเผยแพร่ระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัยวิกฤตคุณภาพน้ำ ณ ห้องประชุมคาลิปโซ่ โรงแรม เดอะ คาวาลิ คาซ่า รีสอร์ท อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กล่าวว่า แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน ประสบปัญหาคุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินที่กำหนดไว้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และแม่น้ำท่าจีนตอนล่างที่คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากมาโดยตลอด จากผลการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษของแหล่งน้ำ พบว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน มีการระบายมลพิษสูงเกินกว่าศักยภาพการฟอกตัวโดยธรรมชาติของแหล่งน้ำ จึงส่งผลให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีนไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ การฟื้นฟูคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานจะต้องลดการระบายมลพิษลงสู่แหล่งน้ำให้ได้ร้อยละ 44 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และร้อยละ 31 ในลุ่มน้ำท่าจีน
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ กล่าวอีกว่า แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ยังประสบเหตุมลพิษทางน้ำบ่อยครั้ง อาทิ เหตุการณ์แม่น้ำท่าจีนเน่าเสีย จากการระบายน้ำท่วมขังจากนาข้าว เมื่อปี 2543 อุบัติเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปี 2550 อุบัติเหตุเรือข้าวสารล่ม เมื่อปี 2552 ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเน่าเสียเป็นบริเวณกว้างเกิดสภาวะขาดออกซิเจนอย่างฉับพลัน ส่งผลให้สัตว์น้ำทั้งที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และที่เพาะเลี้ยงในแม่น้ำขาดอากาศและตายลงเป็นจำนวนมาก ในการแจ้งเตือนภัยมลพิษทางน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ได้มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติในแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 12 แห่ง และแม่น้ำท่าจีน จำนวน 6 แห่ง ซึ่งสามารถแจ้งเตือนเมื่อคุณภาพน้ำมีสภาวะผิดปกติเกิดขึ้น แต่ยังขาดระบบการคาดการณ์คุณภาพน้ำที่สามารถทำนายคุณภาพน้ำล่วงหน้า เพื่อแจ้งเตือนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในบริเวณท้ายน้ำ และใช้ในการแก้ไขและฟื้นฟูคุณภาพน้ำในสภาวะฉุกเฉิน การดำเนินงานที่ผ่านมา จึงไม่สามารถตอบสนองเหตุการณ์วิกฤตคุณภาพน้ำได้อย่างทันท่วงที
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2024-11-19 ] เมืองพัทยา \'รองมาโนช\' นำทีมปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะ หลังชาวบ้านร้องสัตว์มีพิษชุกชุม คาดวันนี้เสร็จ....
- วันที่[2024-11-13 ] สัปดาห์หน้า! เมืองพัทยา รับปากเตรียมปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะ หลังชาวบ้านร้องสัตว์มีพิษชุกชุม....
- วันที่[2024-10-29 ] อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จับมือประธานคณะกรรมการพืชสวนโลก (AIPH) ลุยเดินหน้าจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี 1 พฤศจิกายน 2569....
- วันที่[2024-09-25 ] GULF ร่วมส่งเสริม “เปิดศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์” ภายใต้โครงการ “ระยองไม่เทรวม” เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์สู่เมืองจุลินทรีย์ยั่งยืน....
- วันที่[2024-09-13 ] ประมงอยุธยา ประกอบพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันประมงแห่งชาติ ประจำปี 2567....
- วันที่[2024-09-03 ] ราชภัฏฯ อยุธยา โชว์ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่น สร้างชุมชนยั่งยืน....
- วันที่[2024-08-26 ] ผู้ว่าฯอยุธยา ลงพื้นที่ตรวจสอบความแข็งแรงประตูระบายน้ำบ้านเลน ประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด ประตูระบายน้ำกุฎี รับมือมวลน้ำจากภาคเหนือ....
- วันที่[2024-08-17 ] คุมประพฤติอยุธยา นำผู้ถูกคุมความประพฤติ ร่วมกันปลูกต้นไม้ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติในหลวง....
- วันที่[2024-08-12 ] อยุธยา - เสื่อมโทรมตามกาลเวลาหมดสภาพ “โรงสีข้าวพระราชทาน”....