เกษตรอยุธยา จัดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน หนุนการท่องเที่ยวชุมชน /การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างชื่อเสียง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

เกษตรอยุธยา จัดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน หนุนการท่องเที่ยวชุมชน /การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างชื่อเสียง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน จัดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน หนุนการท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างชื่อเสียง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ของบุคคลภายนอก   อีกทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร ให้มีองค์ความรู้ในการเพาะเห็ดตับเต่า และการสร้างความรับรู้ในเรื่องของคุณค่าทางอาหารสูงในเห็ดตับเต่า  ระหว่างวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2566

          วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 16.00 น.  นายธีรศักดิ์ โฉมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน ประจำปี 2566 เพื่อการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ในเรื่องราวของเห็ดตับเต่า และเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน /การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างชื่อเสียง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับพี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยา ช้อป ชม ชิม ผลิตภัณฑ์จากเห็ดตับเต่า นิทรรศการ “เห็ดตับเต่างามที่สามเรือน” สาธิตอาหารด้านเกษตร การประกวด “หนุ่มคล้าว  สาวทองกวาว” โดยมี ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวรายงานฯ ผู้บริหาร ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอยุธยา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน  พร้อมด้วยเกษตรอำเภอ  ทั้ง 16  อำเภอ  หัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน แขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธีฯ ณ ลานกิจกรรมหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลอยุธยา อ.พระนครศรีอยุธยา  จ.พระนครศรีอยุธยา

          นายธีรศักดิ์ โฉมศิริ  กล่าวว่า  การอนุรักษ์และส่งเสริมธุรกิจเกษตรเห็ดตับเต่า เป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง  ของการพัฒนาภาคเกษตรกรรม เนื่องด้วย เห็ดตับเต่าเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างมาก แม้จะเก็บเห็ดตับเต่าจำหน่ายได้ปีละครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี การเห็นควรให้มีการอนุรักษ์ ส่งเสริม ให้ความสำคัญในการพัฒนาเห็ดตับเต่า  ให้มีผลผลิตมากขึ้น ไม่ใช่เพียงมองเห็นในรูปของธุรกิจเกษตร แต่เล็งเห็นถึงแนวทาง  ของการอนุรักษ์เห็ดตับเต่า ให้เป็นพืชพื้นถิ่นที่มีคุณค่าและสามารถสร้างรายได้  ให้กับเกษตรกร ทั้งนี้ แนวคิดในการอนุรักษ์มุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์หลัก  3  ประการ  คือ สร้างการรับรู้ของบุคคลภายนอกพื้นที่ทราบว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มีเห็ดตับเต่าที่คุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย การทำความเข้าใจหรือการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร ให้มีองค์ความรู้ในการเพาะเห็ดตับเต่า เป็นอาชีพเสริม การสร้างความรับรู้ในเรื่องของคุณค่าทางอาหารสูงในเห็ดตับเต่า ที่มองว่าสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด   รสชาติและเนื้อของเห็ดตับเต่า มีความคล้ายกับ  “เห็ดทรัฟเฟิล”  ของฝรั่งเศส   ที่มีราคาแพงถึงกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท   ทั้งยังเป็นเห็ดที่ปลอดสารพิษ เพราะขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงเห็นว่าควรทดลองประกอบอาหารให้เกิด เมนูซิกเนเจอร์ สามารถรับประทานได้เฉพาะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น  เพราะสามารถเก็บจำหน่ายได้เพียง  4   เดือนต่อปี และมีเอกลักษณ์ในรสชาตที่ไม่เหมือนใคร   ทำให้ ความต้องการเห็ดตับเต่าในท้องตลาดสูง แนวคิดอนุรักษ์และต่อยอดให้มีการเพาะเห็ดตับเต่า  ได้นอกฤดูกาลจึงเกิดขึ้น  ทั้งนี้ยังเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มีพื้นที่การเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศ  มีพื้นที่รวมกว่า 261ไร่เกษตรกร 110 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามเรือน ขยายผลไปสู่ตำบลบ้านสร้าง ตำบลบ้านหว้า  ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน ได้ถูกจัดเป็นพืชอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่แสดงถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน  ด้วยเห็ดตับเต่าจะขึ้นในพื้นที่ชายคลองที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ การอนุรักษ์พื้นที่เพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า จึงเท่ากับเป็นการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คงอยู่ ประชาสัมพันธ์ การรับรู้ให้บุคคลทั่วไป ประชาชนในพื้นที่  เพื่อการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ในเรื่องราวของเห็ดตับเต่า และเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน /การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างชื่อเสียง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับพี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยา  กิจกรรมในงานประกอบด้วย  การจัดแสดงและจำหน่ายผลผลิตเห็ดตับเต่า ผลิตภัณฑ์แปรรูป สินค้าเกษตรปลอดภัย  และอาหารพร้อมรับประทานจำนวน 40 ร้านค้า  จากเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  การฝึกอาชีพระยะสั้น จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่การเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า  การประกอบอาหารจากเห็ดตับเต่า  การจัดแสดงนิทรรศการเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน การประกวดหนุ่มคล้าว สาวทองกวาว การแสดงจากศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น

 

ข่าวล่าสุด


- วันที่[2024-12-02 ] สภาเกษตรกรอยุธยา ชาวนารักในหลวง น้อมเกล้าถวายข้าวสาร 73 ตัน ช่วยประชาชน....


- วันที่[2024-11-19 ] เมืองพัทยา \'รองมาโนช\' นำทีมปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะ หลังชาวบ้านร้องสัตว์มีพิษชุกชุม คาดวันนี้เสร็จ....


- วันที่[2024-11-13 ] สัปดาห์หน้า! เมืองพัทยา รับปากเตรียมปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะ หลังชาวบ้านร้องสัตว์มีพิษชุกชุม....


- วันที่[2024-10-29 ] อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จับมือประธานคณะกรรมการพืชสวนโลก (AIPH) ลุยเดินหน้าจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี 1 พฤศจิกายน 2569....


- วันที่[2024-09-25 ] GULF ร่วมส่งเสริม “เปิดศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์” ภายใต้โครงการ “ระยองไม่เทรวม” เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์สู่เมืองจุลินทรีย์ยั่งยืน....


- วันที่[2024-09-13 ] ประมงอยุธยา ประกอบพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันประมงแห่งชาติ ประจำปี 2567....


- วันที่[2024-09-03 ] ราชภัฏฯ อยุธยา โชว์ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่น สร้างชุมชนยั่งยืน....


- วันที่[2024-08-27 ] ระยอง - ก้าวหน้าสู่ปีที่ 3 Gulf MTP - ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมกับ กลุ่มประมงพื้นบ้าน ฟื้นฟูป่าชายเลน ( ด้วยนวัตกรรมจุลินทรีย์ชีวภาพ ) ประสบผลสำเร็จสูง อัตรารอดกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เติบโตแข็งแรงอย....


- วันที่[2024-08-26 ] ผู้ว่าฯอยุธยา ลงพื้นที่ตรวจสอบความแข็งแรงประตูระบายน้ำบ้านเลน ประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด ประตูระบายน้ำกุฎี รับมือมวลน้ำจากภาคเหนือ....


- วันที่[2024-08-17 ] คุมประพฤติอยุธยา นำผู้ถูกคุมความประพฤติ ร่วมกันปลูกต้นไม้ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติในหลวง....


ดูข่าวทั้งหมด