กรมชลประทาน ปรับแผนการระบายน้ำ เนื่องจากอิทธิพลพายุ คมปาซุ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย
1,355 อ่าน
กรมชลประทาน ปรับแผนการระบายน้ำ เนื่องจากอิทธิพลพายุ คมปาซุ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย จากอิทธิพลจากพายุโซนร้อน คมปาซุ ทำให้ฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะไหลลงมาที่แม่น้ำปิงและรวมกับแม่น้ำน่าน ที่จังหวัดนครสวรรค์
นายธนากร ตันติกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากอิทธิพลจากพายุโซนร้อน คมปาซุ ทำให้ฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งปริมาณน้ำนี้จะไหลลงมาที่แม่น้ำปิงและรวมกับแม่น้ำน่าน ที่จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ปริมาณน้ำที่ สถานี C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นไหลผ่านในอัตรา 2,691 ลบ.ม./วินาที ลดลงเหลือในอัตรา 2,644 ลบ.ม/วินาที เมื่อรวมปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังอีก 275 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้มีปริมาณน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการควบคุมการระบายน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
กรมชลประทาน จึงปรับแผนการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง โดยปรับเพิ่มการรับน้ำเข้าฝั่งตะวันตกลงแม่น้ำน้อย และฝั่งตะวันออก เพิ่มการรับน้ำเข้าคลองชัยนาท- ป่าสัก จาก 131 ลบ.ม./วินาที เพิ่มเป็น153 ลบ.ม./วินาที โดยจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ พร้อมหน่วงน้ำไว้เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ควบคู่กับควบคุมระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมๆ กับควบคุมการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ณ วันที่ 22 ตุลาคมนี้ ระบายจาก 2,771 ลบ.ม./วินาที ลดการระบายน้ำลงเหลือ 2,758 ลบ.ม./วินาที มีผลทำให้ระดับน้ำเริ่มทรงตัวบริเวณแม่น้ำน้อย ได้แก่ อำเภอผักไห่ เสนา บางบาล ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำที่พระตำหนักสิริยาลัยและวัดไชยวัฒนาราม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตร
สำหรับแม่น้ำป่าสัก การระบายท้ายเขื่อนป่าสักฯ ระบายอยู่ในเกณฑ์ 600 ลบ.ม/วินาที ท้ายเขื่อนพระรามหก ควบคุมระบายอยู่ในเกณฑ์ 692 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำทรงตัวรับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์เพิ่มขึ้นจาก 141 ลบ.ม/วินาที เป็น 161 ลบ.ม/วินาที ส่วน จุดวัดน้ำที่ อำเภอบางไทรก่อนเข้า กทม. ปริมาณน้ำไหลผ่าน 3,156 ลบ.ม/วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 36 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน พร้อมกันนี้ กรมชลประทานได้ระบายน้ำเข้าทุ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยผันน้ำเข้าทุ่งผักไห่ บางบาล-บ้านแพน เพื่อบรรเทาน้ำท่วมสูงของชุมชนริมฝั่ง ช่วงที่เขื่อนเจ้าพระยายังคงระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุ่งแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 4 อำเภอ 2 จังหวัด ได้แก่ อำเภอเสนา ผักไห่ บางบาล และอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2024-11-19 ] เมืองพัทยา \'รองมาโนช\' นำทีมปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะ หลังชาวบ้านร้องสัตว์มีพิษชุกชุม คาดวันนี้เสร็จ....
- วันที่[2024-11-13 ] สัปดาห์หน้า! เมืองพัทยา รับปากเตรียมปรับภูมิทัศน์พื้นที่สาธารณะ หลังชาวบ้านร้องสัตว์มีพิษชุกชุม....
- วันที่[2024-10-29 ] อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จับมือประธานคณะกรรมการพืชสวนโลก (AIPH) ลุยเดินหน้าจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี 1 พฤศจิกายน 2569....
- วันที่[2024-09-25 ] GULF ร่วมส่งเสริม “เปิดศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์” ภายใต้โครงการ “ระยองไม่เทรวม” เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์สู่เมืองจุลินทรีย์ยั่งยืน....
- วันที่[2024-09-13 ] ประมงอยุธยา ประกอบพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันประมงแห่งชาติ ประจำปี 2567....
- วันที่[2024-09-03 ] ราชภัฏฯ อยุธยา โชว์ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่น สร้างชุมชนยั่งยืน....
- วันที่[2024-08-26 ] ผู้ว่าฯอยุธยา ลงพื้นที่ตรวจสอบความแข็งแรงประตูระบายน้ำบ้านเลน ประตูระบายน้ำเจ้าเจ็ด ประตูระบายน้ำกุฎี รับมือมวลน้ำจากภาคเหนือ....
- วันที่[2024-08-17 ] คุมประพฤติอยุธยา นำผู้ถูกคุมความประพฤติ ร่วมกันปลูกต้นไม้ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติในหลวง....
- วันที่[2024-08-12 ] อยุธยา - เสื่อมโทรมตามกาลเวลาหมดสภาพ “โรงสีข้าวพระราชทาน”....