อธิบดีกรมชลฯ เบิกฤกษ์ส่งน้ำให้พื้นที่ลุ่มต่ำแก้มลิงธรรมชาติทำนาปีเร็วขึ้น
1,363 อ่าน
กรมชลฯ เบิกฤกษ์ส่งน้ำให้พื้นที่ลุ่มต่ำแก้มลิงธรรมชาติทำนาปีเร็วขึ้น
กรมชลประทาน ส่งน้ำเข้าระบบชลประทานพื้นที่ลุ่มต่ำ “แก้มลิงธรรมชาติ” ทำนาปีให้เร็วขึ้น เลี่ยงฤดูน้ำหลากท่วมผลผลิต จำนวน 6 แห่ง ภายใต้การบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนับสนุนการเริ่มต้นเพาะปลูกข้าวนาปี ในช่วงฤดูฝนของพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำ หวังให้เกษตรกรทำนาปีให้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายในช่วงฤดูน้ำหลาก ก่อนจะใช้เป็นแก้มลิงเก็บกักรองรับน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เวลา 14.00 น. วันที่ 2 พ.ค. 60 นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยนายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 นายโบว์แดง ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา นายวรวิทย์ บุญเนตร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงบางบาล หัวหน้าส่วนราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ กรมชลประทาน เกษตรกรผู้ใช้น้ำ ร่วมในพิธีกดปุ่มเปิดประตูส่งน้ำเข้าระบบชลประทานพื้นที่ลุ่มต่ำ “แก้มลิงธรรมชาติ” เพื่อให้เกษตรกรทำนาปีให้เร็วขึ้น เลี่ยงฤดูน้ำหลากท่วมผลผลิต จำนวน 6 แห่ง ภายใต้การบริหารจัดการน้ำ ลดความเสี่ยงผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายในช่วงฤดูน้ำหลาก ก่อนจะใช้เป็นแก้มลิงเก็บกักรองรับน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ณ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ต่อยอดความสำเร็จจากการปรับปฏิทินการส่งน้ำทำนาปีให้กับพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ ที่ให้เกษตรกรทำนาปีตั้งแต่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมาเพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตให้เสร็จทันก่อนฤดูน้ำหลากจะมา ซึ่งนำมาปรับปฏิทินการส่งน้ำทำนาปีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่รวมประมาณ 1.5 ล้านไร่ โดยเริ่มส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2560 ก่อนเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก ประกอบด้วย 12 ทุ่ง ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท – ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง และทุ่งบางกุ่ม ซึ่งใช้น้ำจากคลองชัยนาท – ป่าสัก ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ และทุ่งเจ้าเจ็ด ใช้น้ำที่ส่งผ่านแม่น้ำน้อย ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางบาล ใช้น้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำอื่น ๆ อาทิ พื้นที่ในเขตของโครงการส่งน้ำและบำรุงโพธิ์พระยา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบันลือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ จะใช้น้ำจากบ่อตอก บ่อน้ำตื้นและน้ำนอนคลอง เป็นต้น
นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้กำหนดการส่งน้ำทำนาปีของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำ จำนวน 6 แห่ง พื้นที่ประมาณ 290,130 ไร่ เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งรวมทั้งสิ้น 10,832 ราย เป็นพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 5 แห่ง รวมพื้นที่ประมาณ 256,680 ไร่ ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ่ม และทุ่งบางกุ้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน และอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 1 แห่ง พื้นที่ประมาณ 33,450 ไร่ ประกอบด้วย ทุ่งบางบาล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางบาล และอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำหรับกำหนดการทำนาปีของเกษตรกรในปีนี้ เป็นไปตามนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ด้วย เนื่องจากฤดูน้ำหลากในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนถึงฤดูน้ำหลาก กรมชลประทาน จึงกำหนดส่งน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวทำนาก่อนพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ดอนโดยจะเริ่มส่งน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม และเก็บเกี่ยวก่อน 31 สิงหาคม 2560
ดังนั้นการส่งน้ำทำนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ำ นอกจากจะลดความเสี่ยงที่ผลผลิตข้าวจะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมแล้ว ยังจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังช่วยให้ภาครัฐสามารถประหยัดงบประมาณจากการจ่ายเงินค่าชดเชยความเสียหายจากน้ำท่วมได้อีกด้วย ที่สำคัญ หลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว สามารถใช้พื้นที่ลุ่มต่ำดังกล่าวเป็นแก้มลิงธรรมชาติ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในเขตชุมชนและสถานที่ราชการ ตลอดจนเป็นการตัดยอดน้ำเพื่อบรรเทาผลกระทบกับพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย ซึ่งจะสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุดประมาณ 544 ล้านลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน นอกจากนี้ ยังจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกร มีรายได้เสริมจากการทำอาชีพประมง อีกทั้งปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ยังสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการเป็นน้ำต้นทุนในการทำนาปรัง และการอุปโภคในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2024-10-30 ] ในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร....
- วันที่[2024-10-30 ] ในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ....
- วันที่[2024-10-23 ] ผู้ว่าฯอยุธยา นำหัวหน้าส่วนราชการ พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะเนื่องใน “วันปิยมหาราช”....
- วันที่[2024-10-13 ] อยุธยา ประกอบพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล วางพวงมาลา เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”....
- วันที่[2024-07-21 ] ผู้ว่าฯอยุธยา ผู้แทนพระองค์ อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานแก่ 7 วัดพระอารามหลวง เพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัยอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา....
- วันที่[2024-06-23 ] พสกนิกรชาวพระนครศรีอยุธยา ทุกหมู่เหล่ารวมใจรับมอบธงตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติในหลวง....
- วันที่[2024-06-03 ] ผู้ว่าฯอยุธยา นำหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา....
- วันที่[2024-06-03 ] ผู้ว่าฯอยุธยา นำข้าราชการ พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา....
- วันที่[2024-04-03 ] อยุธยา ประกอบพิธีน้อมรำลึกสักการะและพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง....
- วันที่[2023-11-25 ] ในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน ให้ปลัด มท.ตามที่ขอรับพระราชทานน้อมนำไปถวายพระสงฆ์ ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร....