ชาวบ้านกรุงเก่าลุกฮือคัดค้านทวงคืนหัวบัวเสาตะลุงเพนียดหลวง ผอ.อุทยานยันย้อนยุคอนุรักษ์แบบดั้งเดิม
1,434 อ่าน
ชาวบ้านกรุงเก่าลุกฮือคัดค้านทวงคืนหัวบัวเสาตะลุงเพนียดหลวง ผอ.อุทยานยันย้อนยุคอนุรักษ์แบบดั้งเดิม
จากกรณีที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเพนียดหลวง ซึ่งชาวบ้านพบว่าการบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้มีการตัดหัวบัวเสาตะลุงที่อยู่ด้านนอกเพนียดหรือ ที่เรียกว่าปีกกาออกทั้งหมด ทำให้สภาพของเพนียดคล้องช้างเปลี่ยนไป แลดูไม่สวยงามเหมือนที่ผ่านมา จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงการตัดหัวเสาตะลุงครั้งนี้ ผอ.อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ย้ำตัดเสาตะลุงอนุรักษ์ฯแบบดั้งเดิม ยอมรับที่ผ่านมาซ่อม 3 ครั้งไม่อิงหลักฐาน วัฒนธรรมจังหวัดฯ ร่วมชาวบ้านทวงคืนของเก่า ณ เพนียดคล้องช้าง ม.3 ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ความคืบหน้าเมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 27 พ.ค. 62 นางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เดินทางไปบริเวณเพนียดคล้องช้าง เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าการบูรณะซ่อมแซม และชี้แจงสาเหตุของการตัดหัวเสาตะลุง โดยมีชาวบ้านจำนวนมากมารอคอย โดยมี ดร.จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายมานัส ทรัพย์มีชัย ตัวแทนมูลนิธิพระคชบาล นางยองใย เกษมศรี ณ อยุธยา นายนิวัฒน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานและรองประธานชมรมทำดีเพื่อแผ่นดิน มาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
นางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การดำเนินการซ่อมแซมบูรณะเพนียดคล้องช้างครั้งนี้ ใช้งบประมาณ 30 กว่าล้านบาท และยึดถือหลักฐานที่พบเป็นภาพถ่ายจากชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย ก่อนรัชกาลที่ 5 โดยเห็นว่าด้านนอกของเพนียดคล้องช้างเสาตะลุงไม่มีหัว จึงได้ทำการซ่อมแซมตามหลักฐานที่พบ ส่วนที่ผ่านมาการบูรณะซ่อมแซมมาต่อเนื่อง 3 ครั้ง ทางผู้รับเหมาได้สร้างตามหลักฐานคือเสาตะลุงที่หลงเหลืออยู่เดิมมีหัวมัณท์ หรือหัวบัว จึงได้ทำการซ่อมแซมทั้งด้านนอกด้านใน และซ่อมต่อเนื่องมา ไม่ได้ยึดภาพเหมือนการซ่อมครั้งนี้ ซึ่งทางกรมศิลปากรฯ ต้องการที่จะย้อนไปถึงสภาพเดิมที่เคยมี ซึ่งยืนยันว่าทำตามหลักฐานที่พบ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ส่วนการที่ชาวบ้านมาคัดค้าน เป็นเรื่องที่ทำได้ และเป็นเรื่องดีที่เห็นความรัก ความหวงแหนของคนรอบโบราณสถาน อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ทางกรมศิลปากรได้อธิบายชี้แจงเหตุผล
หลังจากที่นางสาวสุกัญญา ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พยายามชี้แจงเป็นเวลานานกว่า 20 นาที ท่ามกลางเสียงตะโดนด่าทอของชาวบ้านที่ไม่รับฟัง เนื่องจากส่วนใหญ่เห็นว่ากรมศิลปากร พยายามที่จะทำลายความรู้สึกของชาวบ้าน จึงเรียกร้องให้ซ่อมแซมให้เสาตะลุงมีหัวเหมือนเดิม อีกทั้งเห็นว่าหากทางกรมศิลปากรไม่แก้ไข ก็จะทำการร้องเรียนไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สตง. ปปช.และร้องไปยังนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเรียกร้องให้ย้ายผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ออกไปด้วย
ต่อมานายสันติ ขันธนิกร ตัวแทนชาวบ้านรอบเพนียด ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนผ่านดร.จิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดฯ นายมานัส ทรัพย์มีชัย ตัวแทนมูลนิธิพระคชบาล ในการยื่นไปยังจังหวัดฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ดร.จิระพันธุ์ฯ กล่าวว่า ไม่ว่าทางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จะชี้แจงอย่างไรขณะนี้ ชาวบ้านไม่รับฟัง เนื่องจากได้ทำให้ชาวบ้านเสียความรู้สึก ทั้งนี้เนื่องจากตลอดทั้งชีวิตชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นแต่เสาตะลุงที่มีหัวบัวตลอดมา ซ่อมกี่ครั้งก็มีหัวบัว ชาวบ้านจึงจดจำแต่ภาพของเสาตะลุงที่มีหัวบัว ที่สำคัญการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและการที่ยูเนสโก้ ยกย่องเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2534 ทุกหน่วยงานก็จะเห็นว่าเสาตะลุงมีหัวทั้งนั้น การซ่อมแซมเวลาต่อมาในวันนี้ จะดัดแปลงแก้ไขย้อนไปอีก ก็คงจะไม่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ตนจะสอบถามไปยังกรมศิลปากร และกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้เข้ามาดูแล
นายนิวัฒน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา กล่าวว่า จากการตรวจสอบการซ่อมแซมบูรณะเสาตะลุง ก็พบว่ามีความพยายามที่จะทำเป็นเสาที่มีหัวบัวด้านใน แต่ไม่ชัดเจน อีกทั้งด้านนอกก็ยังตัดหัวบัวออกไป ทั้งที่ยอมรับว่าของเก่าก็มี ไม่ควรที่จะตัด ทั้งนี้ยังมีความเชื่อว่าเสาโดยรอบนั้น เป็นตัวแทนเทพที่ปกปักรักษาเพนียดคล้องช้างด้วย ในฐานะชมรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดี ก็จะนำเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ระงับการซ่อมบำรุงก่อน ทั้งนี้การซ่อมอะไรก็ตามต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดี และความรู้สึกของคนในชุมชน ยิ่งในรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ได้เน้นการต่อยอด การซ่อม เสริมที่ไม่ได้มุ่งการทำลายให้เสียหาย
ต่อมาชาวบ้านได้พากันไปชุมนุมชูป้ายคัดค้านและจุดธูปเพื่อขอขมาอภัยอีกทั้งสาปแช่งผู้ที่เปลี่ยนแปลงสภาพของเพนียดคล้องช้างและตัดหัวเสาตะลุง พร้อมทั้งเรียกร้องให้กรมศิลปากรแก้ไขให้เหมือนเดิม ขณะที่ผู้สื่อข่าวพบว่าเสาตะลุงหลายต้นจำนวนมาก เป็นเสาเก่าที่ได้นำไปทำให้มีขนาดเล็กลง ด้วยการปลอกเปลือกไม้ กลึงและทางสี นำไปลงหลุมเพื่อดูเป็นของใหม่ อีกทั้งบางต้นยังได้กลับเอาหัวเสาลงไป ทำการเทปูนกลบ ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นการลบหลู่เสาตะลุงอย่างมาก โดยทางอุทยานฯไม่ระบุว่างบประมาณ 35 บาทนั้นได้มีการใช้ไม้ใหม่จำนวนเท่าใด หรือนำเสาเก่ามาตัดหัวทำใหม่จำนวนเท่าใด อีกทั้งยังมีการซ่อมแซมไม่ตรงกับความเป็นจริงหลายจุด ซึ่งชาวบ้านจะทำการร้องเรียนเพื่อตรวจสอบต่อไป
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2024-11-19 ] อยุธยา - อบต.หันตรา จัดงานสืบสานประเพณีลอยกระทง อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยโบราณ ณ บริเวณท่าน้ำวัดหันตรา....
- วันที่[2024-11-11 ] วธ.- ศิลปากรฯ เปิดอย่างยิ่งใหญ่ กับงาน ‘4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ’ ชวนแต่งชุดไทย ชมโบราณสถานยามราตรี ณ.เกาะเมืองอยุธยา เมืองกรุงเก่า....
- วันที่[2024-11-05 ] เมืองพัทยา - เตรียมจัดใหญ่! งานเทศกาลดิวาลี พัทยา 2024 ริมหาดพัทยา....
- วันที่[2024-11-04 ] ชมรมส่งเสริมวัฒนธรรมเมืองกรุงเก่า (จิตอาสา) อิ่มบุญอิ่มใจแต่งไทยใส่บาตร ครั้งที่ 11....
- วันที่[2024-11-03 ] ประธานคณะทำงานนายกเมืองพัทยา เป็นเจ้าภาพจัดทอดกฐินสามัคคีวัดบุญสัมพันธ์ สมทบทุนสร้างวิหารหลวงปู่อาด....
- วันที่[2024-10-18 ] รองผู้ว่าฯอยุธยา นำปชช.ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย ณ วัดไชยวัฒนาราม....
- วันที่[2024-10-10 ] ชลบุรี – เมืองพัทยาเดินธูปใหญ่รับเทศกาลกินเจ 2567 ปชช.ผู้มีจิตศรัทธาร่วมใส่ชุดขาวเข้าร่วมพิธีคับคั่ง....
- วันที่[2024-10-09 ] อยุธยา “นายก อบต.บ้านกลึง” ประกอบพิธีร่วมรำลึกไว้อาลัย ทำบุญเลี้ยงพระ อุทิศส่วนกุศลให้กับครู – นักเรียน ที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรม รถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก....
- วันที่[2024-10-05 ] ผวจ.ชลบุรี เป็นประธานพิธีสาธยายมงคลคาถาคัมภีร์ปั๊กเต้าเก็ง รับกินเทศกาลเจปี 67....
- วันที่[2024-10-05 ] ชลบุรี – พัทยา ทำบุญอายุวัฒนมงคลครบ 5 รอบ 60 ปี พระเทพวชิรปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล พระอารามหลวง....