ธ.ก.ส.อยุธยา หนุนธุรกิจชุมชนสร้างไทยเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยั่งยืน

.ก.ส.อยุธยา หนุนธุรกิจชุมชนสร้างไทยเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงยั่งยืน

ธ.ก.ส.อยุธยา ให้สินเชื่อเพื่อการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตทางการเกษตร อัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 0.01 ต่อปี กลุ่มเป้าหมาย เป็นสถาบันการเงินชุมชน กทบ. สหกรณ์การเกษตร ผู้ประกอบการ หวังให้เกิดการสร้างรายได้แก่ชุมชน ครัวเรือน สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง ยั่งยืน

       นายประจิน จันทรพานิชย์  ผู้อำนวยการ สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินโครงการให้สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในธุรกิจชุมชน มีวงเงินสินเชื่อรวม 50,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี

        กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ได้แก่ เกษตรกร บุคคลทั่วไป นิติบุคคล สถาบันการเงินชุมชน กองทุนหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน  สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจการเกษตร ซึ่งจะต้องประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิต  การรวบรวม การแปรรูป การตลาด และการบริการ อยู่ในห่วงโซ่มูลค่าสินค้าเกษตร  และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ลดรายจ่าย รวมทั้งเพื่อการบริโภคของคนในชุมชน การมีส่วนร่วมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยทรัพยากรของชุมชน มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเกื้อกูลและเป็นธรรม มีการบูรณาการความร่วมมือกับส่วนงานภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาธุรกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการทางธุรกิจการเกษตร

        กำหนดวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ เพื่อให้การสนับสนุนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการปฏิรูปภาคการเกษตร มีการปรับ/เปลี่ยน/พัฒนาการ สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาการตลาด  การสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน รวมถึงการสนับสนุนกิจการโฮมสเตย์และโฮมลอดจ์

        กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร กำหนดให้จ่ายสินเชื่อได้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 กำหนดวงเงินสินเชื่อสำหรับสถาบันการเงิน นิติบุคคลไม่เกินรายละ 100 ล้านบาท กรณีเป็นบุคคลไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท กรณีเป็นเงินหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจให้ชำระคืนภายในระยะเวลา 12 เดือน โดยกำหนดการชำระ สอดคล้องกับที่มาแห่งรายได้ กรณีเป็นเงินลงทุนให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนใหม่และการขยาย  การลงทุนในโครงการเดิมได้ ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ในการนำเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำนี้ไปทำให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรม และมีผลกับการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่สมาชิก หรือชุมชน เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งมีการส่งเสริมการออมเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน และครัวเรือนในอนาคตด้วย

    ในส่วนของหลักประกันให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติของธนาคาร กรณีเป็นกองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน วิสาหกิจชุมชน ให้คณะกรรมการทั้งคณะค้ำประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท โดยมีข้อห้ามที่สำคัญ คือ ห้ามนำเงินสินเชื่อตามโครงการนี้ไป Refinance สัญญากู้เดิมกับ ธ.ก.ส. หรือสถาบันการเงินอื่น ห้ามนำเงินสินเชื่อนี้ไปให้กู้ต่อแก่สมาชิก และที่สำคัญ คือ ห้ามนำสินเชื่อตามโครงการนี้ไปแบ่งกันในกลุ่มสมาชิกโดยเด็ดขาด

        ยกตัวอย่าง กลุ่มทำนาแปลงใหญ่ ซื้อเครื่องอัดฟางมารับอัดฟาง ซื้อฟางข้าวจากเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ ไร่ละ 100 บาท เกษตรกรลดการเผาฟาง แต่มีรายได้เพิ่มไร่ละ 100 บาท กลุ่มฯ นำฟางก้อนไปขายได้เงินมาเข้าระบบบัญชี หากมีกำไรจัดสรรแบ่งปันผลหลังจากสิ้นปีบัญชี  หรือ  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำน้ำพริกเผาจำหน่าย ต้องการขยายกิจการน้ำพริก ชวนสมาชิก ชาวบ้าน ปลูกพริก ข่า ตะไคร้ มะกูด หรือพืชผักอย่างอื่น เพื่อขายให้แก่กลุ่มวิสาหกิจทำน้ำพริก เกิดการสร้างรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน วิสาหกิจไม่ต้องไปซื้อวัตถุดิบจากที่ไกล ๆ โดยให้ราคาวัตถุดิบตามราคาตลาด เมื่อมีรายได้เพิ่มควรเก็บออมเพื่ออนาคต สร้างเป็นวินัยทางการเงินที่ดี ส่งต่อวินัยการออม การประหยัด ใช้เงินตามความจำเป็นเหมาะสม ให้แก่ลูกหลานรุ่นต่อๆไป ครอบครัวจะเกิดความมั่นคงอย่างแน่นอน

       รัฐบาลมีเจตนาในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้ภาคชุมชน หมู่บ้าน มีบทบาทในพัฒนาท้องถิ่น เกิดการพึ่งพาตนเองและชุมชนช่วยเหลือกัน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ชุมชน จึงได้มีการส่งเสริมให้มีสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก หรือเท่ากับว่าเป็นการให้ยืมเงินไปเพื่อประกอบการทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดความมั่นคงต่อไป และมีระยะเวลาในการชำระคืนที่เหมาะสม ผู้ที่สนใจในการดำเนินการตามเงื่อนไขนี้ สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส.หน่วยอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกแห่ง.....

ข่าวล่าสุด


- วันที่[2024-04-08 ] อยุธยา อบต.บ้านกลึง ปรับภูมิทัศน์เทิดพระเกียรติในหลวง 1 อปท.1 คลองสวยน้ำใส น่ามอง ปราศจากวัชพืช และขยะทั่วไป....


- วันที่[2024-03-31 ] สกจ.อยุธยา จับมือกับ สพม.อยุธยา บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) หนุนสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้กับนักเรียน ต่อยยอดอาชีพเสริมด้านการเกษตร....


- วันที่[2024-03-29 ] สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เตรียมจัดงาน “มหกรรมยางพาราและเกษตรแฟร์ EEC ไทย-จีน 2024” อย่างยิ่งใหญ่....


- วันที่[2024-03-28 ] ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP ผนึกกำลัง ประมงจังหวัด โรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มประมง เดินหน้าฟื้นฟูป่าชายเลน ทต.เนินพระ จ.ระยอง ต่อเนื่อง ปีที่ 3....


- วันที่[2024-03-26 ] มูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จัดการประชุมเต่าทะเลนานาชาติ ครั้งที่ 42....


- วันที่[2024-03-18 ] อยุธยา ท่าเทียบเรือบริษัท เยนเนอรัล มิลล์ คอร์ปอร์เรชั่น จก. เปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2....


- วันที่[2024-03-08 ] ป.ป.ช. อยุธยา ลงพื้นที่ตรวจศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา” ในพื้นที่อำเภอนครหลวง สามารถขับเคลื่อนและต่อยอด พร้อมเดินหน้าเพิ่มพื้นที่เป็นศูนย์เรียนรู้....


- วันที่[2024-01-18 ] กรมทะเลและชายฝั่งที่ 1 และ 2 เปิดปฏิบัติการพื้นที่เกาะริ้น จ.ชลบุรี เก็บกู้ซากอวนปกคลุมแนวปะการังกว่า 700 ตร.ม. น้ำหนักรวม 338 กก.....


- วันที่[2024-01-10 ] สุพรรณบุรี - 5 เดือน ยุทธการ “ผิวน้ำเมืองขุนแผน” จับกุมทำประมง-ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายเพียบ ยึดไอ้โง่ 287 ปาก อุปกรณ์ช็อตปลา 23 ชุด !....


- วันที่[2023-12-29 ] นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสวนยางพาราในเขตภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด....


ดูข่าวทั้งหมด