สมาคมคลินิกเอกชน ติวเข้มระเบียงเศรษฐกิจทางการแพทย์เมืองสุขภาพเชียงใหม่โมเดล

สมาคมคลินิกเอกชน ร่วมกับ เครือข่ายสหวิทยาการ คณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา ราชบัณฑิตยสภา สมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย  สมาคมพลังแพทย์จดจัดตั้ง  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม และภาคีเครือข่าย ประชุมเชิงปฏิบัติการ"ระเบียงเศรษฐกิจทางการแพทย์และเมืองสุขภาพเชียงใหม่"New Medico-Economic Corridor and Chiangmai Medical City

     สมาคมคลินิกเอกชน ซึ่งเป็นองค์กรศูนย์รวมของสถานพยาบาลประเภทคลินิกทุกด้าน ได้ร่วมกับ เครือข่ายสหวิทยาการ คณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา ราชบัณฑิตยสภา สมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมาคมพลังแพทย์จดจัดตั้ง โดยความร่วมมือของจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม และภาคีเครือข่าย ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องระเบียงเศรษฐกิจทางการแพทย์และเมืองสุขภาพเชียงใหม่ หรือ New Medico-Economic Corridor and Chiangmai Medical City ขึ้นโดยมีพลอากาศตรี นายแพทย์ขวัญชัย เศรษฐนันท์  นายกสมาคมคลินิกเอกชน เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดการประชุมฯ และกล่าวเปิดการประชุมฯ ณ ห้องนันทา 1 และ 2 โรงแรมฮอลิเดย์อิน จังหวัดเชียงใหม่

      โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ยงยุทธ วัชระดุลย์ ราชบัณฑิต ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา แห่งราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า คณะผู้จัดเห็นความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้บรรลุผลถึงความมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น  ควบคู่กับความมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ (Longevity with quality of life) ภายใต้หัวข้อ "ระเบียงเศรษฐกิจการแพทย์และเมืองสุขภาพเชียงใหม่"  ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่อัน  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ และเครือข่ายทางสังคมได้พบกัน แชร์ข้อมูลสถานการณ์ ความเห็น และสร้างความร่วมมือในทางเศรษฐกิจเกี่ยวเนื่องกับการแพทย์ในระดับจังหวัด ถึงระดับพื้นที่ซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นระเบียง หรือ cooridor ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียง ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจชื่อ New Medico  Economic  Corridor and Chiangmai Medical City

      ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อนำความสมบูรณ์ ความสุขมาสู่คนไทยและคนในพื้นที่อันเป็นระเบียงเศรษฐกิจ  รวมถึงผู้มาเยือนนั้น  จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจสถานะของสังคม และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแม่นยำในบริบทต่างๆ ซึ่งต้องทำการค้นหาความจริงของสังคมและเศรษฐกิจภายในพื้นที่ และปัจจัยภายนอกพื้นที่ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะข้อมูลความจริงที่ว่า ประการแรก โลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิตัล การสื่อสารและการคมนาคม ประการที่ 2 โลกมีเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเช่นปัญหาโลกร้อนขึ้นและมีภาวะมลพิษที่คุกคามสุขภาพของคนอย่างชัดเจนและรุนแรง ประการที่ 3  ประชากรของโลกมีการเคลื่อนย้ายทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ประการที่ 4 คน ในโลกนี้ยังคงมีความต้องการพื้นฐานของชีวิต แต่มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงในทางรุนแรงเพิ่มขึ้น มีพฤติกรรมบริโภคข่าวสารข้อมูลทางสื่อออนไลน์ที่รวดเร็วเพิ่มขึ้นมาก

 เพื่อทุกส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้นำมาประกอบการพิจารณาทำงานด้วย การพัฒนาระบบการจัดการ การค้นคว้าและนำมาใช้ซึ่ง วิธีการสิ่งประดิษฐ์(นวัตกรรม) ใหม่ๆ  ที่จะนำมาพัฒนาเพิ่มรายได้ของบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ธรกิจและสังคม โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและสมดุล นำมาซึ่งรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความพึงใจของคนไทยและคนที่เกี่ยวข้องได้จริง  การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ผ่านมา เกิดจากผู้นำทางรัฐบาล กำหนดนโยบายและโครงการขึ้นจากความเห็นของบุคคล โดยขาดการศึกษา วิจัยในหลักการ รูปแบบวิธีการ และผลกระทบ   หลายโครงการได้นำมาซึ่งหายนะของระบบสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ประเทศไทยติดกับดักของนโยบายและการจัดการโครงการขนาดใหญ่ และประเทศเสียโอกาสและศักยภาพในทุกด้าน

    ในการประชุมนี้ มุ่งหมายให้คนไทยได้หันมาใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์สภาพของสังคมในพื้นที่ และเชื่อมโยงกับสังคมภายนอกพื้นที่  ค้นหาความจริงของสังคมและคิดค้นเทคโนโลยี  นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นทางออกที่ดี ด้วยการวิจัยและพัฒนาแบบสหวิทยาการ  เนื่องจากปัญหาทางสังคมและปัญหาของโลกมีความยุ่งยากซับซ้อน สิ่งหนึ่งมีอิทธิพลและกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่งและกระทบซึ่งกันและกัน การวิจัยโดยใช้หลักวิชาหรือศาสตร์ใดๆ เพียงลำพังอย่างที่เป็นมา ไม่เพียงพอที่จะได้ข้อมูล ความรู้ และวิธีการที่จะนำมาใช้ เพื่อการแก้ไขปัญหาของประชาชนและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ จำเป็นต้องใช้การวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary research) หลักการวิจัยแบบสหวิทยาการนี้  ได้พัฒนาขึ้นโดยราชบัณฑิตยสภา ในส่วนคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีการวิจัยแนวทางนี้โดยเครือข่ายสหวิทยาการในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ เครือข่ายทั่วประเทศ  หากได้ผลสรุปจากการวิจัยหรือรูปแบบการพัฒนาใดๆแล้ว  เมื่อจะนำไปใช้กับผู้คนในสังคม จำเป็นต้องใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ในการบริหารแผนงานโครงการ และมีการติดตามประเมินผล  เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับสู่การปรับปรุงตามความจริงที่พบ

   สำหรับการพัฒนาคนในสังคมนั้น สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นที่พื้นที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว  เช่นกันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทางที่เป็นคุณกับสังคม มีการพัฒนาการแพทย์ที่โดดเด่น มีศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ รวดเร็ว และใช้การรักษาที่จำเพาะอย่างยิ่ง เรียกว่า precision medicine , personalized medicine และมีการแพทย์ฟื้นสภาพและสร้างเซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะขึ้นทดแทน หรือที่เรียกว่า Regenerative medicine ซึ่งทั่วโลกมีการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัย รักษา สร้างนวัตกรรมในการแพทย์ด้านนี้อย่างมาก ในหลายประเทศนั้น รัฐเห็นประโยชน์เป็นผู้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำผลวิจัยที่มีคุณค่าไปใช้ในการฟื้นสภาพและสุขภาพ  ให้คนภายในชาติ   ประเทศไทยมีนักวิจัยด้านนี้จำนวนมาก และสร้างผลวิจัยที่ดียิ่ง เกิดจากความพยายามศึกษาค้นคว้าของนักวิจัย  แต่งานวิจัยด้านนี้ไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากสังคมการแพทย์ไทยอยู่ในอิทธิพลของการแพทย์แบบ conventional หรือที่หลายท่านเรียกเชิงเปรียบเทียบว่า เป็นการแพทย์แบบดั้งเดิม หรือ traditional medicine  ซึ่งใช้โปรโตคอลในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคหนึ่งๆแบบเดียวกัน ขาดความจำเพาะที่ละเอียดอย่างเพียงพอ

   อย่างไรก็ดีประเทศไทย  ได้ชื่อว่ามีบุคลากรการแพทย์และระบบสุขภาพที่มีคุณภาพทางวิชาการ เทคนิค และการมีลักษณะการให้บริการที่อบอุ่นและเป็นมิตรเสมือนหนึ่งว่าผู้ป่วยเป็นคนในครอบครัว เป็นที่ยอมรับของคนไทยและนานาชาติ ในทางเศรษฐศาสตร์ จึงถือได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ของไทย เป็นทรัพย์สินหรือ assets ของชาติ (ไม่ใช่เป็นภาระของงบประมาณประเทศ อย่างที่ปรากฏเข้าใจผิดกันในข่าวสาธารณะ)ในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถทางการแพทย์ที่สั่งสมกันมา สถานพยาบาลประเภทคลินิกของไทยจำนวนมากได้สร้างงานคุณภาพ สมคุณค่า และสร้างชื่อให้ประเทศไทยมาต่อเนื่องและนำรายได้เข้าประเทศและกระจายสู่คนไทยทั่วไปมาต่อเนื่องด้วยคุณภาพการรักษาทางการแพทย์เฉพาะด้านเพิ่มขึ้นตามลำดับ  อันเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

    อย่างไรก็ดีคุณภาพของบริการทางการแพทย์ เป็นสิ่งที่ประสงค์ของทุกๆคนและทุกฝ่ายและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การดูแลสุขภาพของประชาชนราบรื่น  คุณภาพที่ดีในทางการแพทย์จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความเป็นไปได้ และที่มีความแม่นตรงมากกว่าการแพทย์ที่เป็นอยู่ซึ่งบางท่านที่ทำงานด้าน precision medicine หรือ personalized medicine เรียกว่าการแพทย์แบบ traditional คือวงการแพทย์แบบ conventional ทำกันมาส่งต่อมาเป็นทอดๆ และถึงทางตันในการรักษาบางกลุ่มโรค โดยเฉพาะโรคของความเสื่อม ความผิดปกติของเมตาโบลิซึม นอกจากนั้นประเทศไทย ยังมีความสามารถในการแพทย์ด้าน longevity and wellness service อีกด้วย

   คณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา แห่งราชบัณฑิตยสภา ได้ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา และการนำเสนอผลงานวิชาการทางการแพทย์แบบสหวิทยาการที่เรียกว่าเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ(Regenerative Medicine), precision medicine ซึ่งมีความคุ้มค่าในการวิจัย พัฒนา และการใช้ประโยชน์ในทางสุขภาพและการแพทย์โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีความเรื้อรังและรักษายาก และมีข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของคนไทยและชาวโลกได้  เมื่อประเทศประสบภาวะวิกฤตในด้านต่างๆ เพื่อการนำเข้ารายได้มาพัฒนาคนและสังคมไทยในหลายปีที่ผ่านมา เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควรปรับเปลี่ยนเป็นระเบียงเศรษฐกิจทางการแพทย์ โดยเลือกพื้นที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ เช่น เมืองสุขภาพเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหารือร่วมกันทั้งภาควิชาการ ภาคสังคม ภาคราชการ ภาคธุรกิจ เกี่ยวกับการพัฒนาและการวิจัยนี้ คณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาฯ จึงร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่อง New Medico-Economic Corridor and Chiangmai Medical City  ขึ้น ณ.จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงการจัดให้มีการจัดการแบบ Premiam Hospital Management ในโรงพยาบาลภาครัฐ ซึ่งมีการจัดการที่ดีกว่าระบบจัดการภาครัฐเพียงอย่างเดียว ทำให้โรงพยาบาลมีรายได้เพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ยากไร้สืบไปในลักษณะสังคมเกื้อกูลกัน จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์นี้  ประเทศไทยได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ทำให้ประเทศในทุกภาคส่วนมีทิศทางและหลักในการพัฒนาของประเทศในโมเดล Thailand 4.0

     การที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้  มีการบรรยายพิเศษ การบรรยายวิชาการ การอภิปราย และการประชุมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และการประชุมร่วมเพื่อพัฒนาโมเดลนี้ที่เชียงใหม่   และนำโมเดลดังกล่าวไปใช้ พร้อมวิจัยวัดผลติดตาม และสรุปให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยใช้หลักการวิจัยแบบสหวิทยาการแล้ว  จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อชาวเชียงใหม่ และชาไทย ส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่และการพัฒนาประเทศ เป็นไปตามข้อความจริงที่ได้จากการวิจัยไปพัฒนา มากกว่าการทำเป็นเพียงแนวคิดรูปแบบที่ได้มาจากการนำเข้าข้อมูลและรูปแบบจากต่างประเทศ โดยไม่ใช่บริบทของประเทศไทย  แล้วนำมาดำเนินการเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาไม่อาจวัดผลในทางการแพทย์

ข่าวล่าสุด


- วันที่[2024-04-24 ] ระยอง - โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 Gulf MTP ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชาวมาบตาพุด ปี 2567....


- วันที่[2024-04-24 ] หาดใหญ่ - ชุมชนปลักกริม จัดทำบุญพระ-รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เพื่อความเป็นสิริมงคลรับสงกรานต์....


- วันที่[2024-04-19 ] พมจ.อยุธยา บูรณาการออกหน่วยเคลื่อนที่บริการประชาชนถึงครัวเรือน ให้ได้รับบริการสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง....


- วันที่[2024-04-01 ] อยุธยา สุดปลื้มสมเด็จพระเทพฯ วาดภาพฝีพระหัตถ์รูปเรือสำเภาโบราณให้พสกนิกรชาวอยุธยา....


- วันที่[2024-03-29 ] ชลบุรี – เมืองพัทยา เตรียมจัดใหญ่เทศกาลวันไหล ปี 67 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย....


- วันที่[2024-03-24 ] เมืองพัทยา กงสุลจีน ลงพื้นที่รับฟังวางกรอบแนวทางมาตรการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ทั้งทางบกและทางน้ำ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลฟรีวีซ่าถาวร....


- วันที่[2024-03-18 ] สระแก้ว – จัดพิธีถวายราชสักการระและกล่าวถวายราชสดุดี ร.5 เนื่องในวันท้องถิ่นไทย....


- วันที่[2024-03-17 ] ชลบุรี – นอภ.บางละมุง สั่งฝ่ายปกครอง ลุยจับน้ำกระท่อม ยึดของกลางนับพันขวด....


- วันที่[2024-03-06 ] เมืองพัทยา ผู้ประกอบการพัทยาร่วมสนับสนุนงานกาชาดชลบุรีปี 67....


- วันที่[2024-03-04 ] เมืองพัทยา - เตรียมจัดงาน Pattaya International Tattoo Convention 2024 รับซัมเมอร์ 2024....


ดูข่าวทั้งหมด