อยุธยา “พรพจน์” อธิบดีกรมโยธาฯ ลงพื้นที่ตรวจติดตามระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่โบราณสถาน - ชุมชนตลาดเก่าบ้านแพนเสนา มั่นใจระบบป้องกันน้ำท่วมรับมือน้ำท่วมได้

อยุธยาเมืองกรุงเก่า อธิบดีกรมโยธาฯ ตรวจคันป้องกันน้ำท่วมชนิดพับเก็บได้บริเวณวัดไชยวัฒนาราม กรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมกับ กรมศิลปากร ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2553 ประกอบด้วย โครงสร้างป้องกันน้ำซึมลอดใต้ดิน และบานพับสแตนเลสเป็นกำแพงป้องกันน้ำด้านแม่น้ำเจ้าพระยามีความยาวทั้งสิ้น 180 เมตร ส่วนด้านข้างและด้านหลังมีกำแพงคอนกรีตความยาวรวม 425 เมตร ซึ่งกรมฯ มั่นใจว่าจะสามารถป้องกันระดับน้ำในปีนี้ได้ ยังเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ร่วมกับกรมศิลปากรอยู่อย่างต่อเนื่อง

          เวลา 14.00 น. วันที่ 7 ตุลาคม 2564  นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง พร้อมด้วย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีฯ  นายสักรินทร์ อินทรสถิตย์ ผู้ตรวจราชการฯ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่โบราณสถานและชุมชนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายวีระชัย นาคมาศ(นาค-คะ-มาด) ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นางสาวพรรณทิพย์ เปี่ยมพุทธากุล โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางพิศมัย เลิศอิทธิบาท  ประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและร่วมลงพื้นที่ตรวจระบบการป้องกันน้ำท่วมในครั้งนี้

          โดยเริ่มจุดแรกที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร พระราชธานินทราจารย์  เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชวรวิหาร  ได้นำลงพื้นที่จุดติดตั้งแนวบังเกอร์พนังกั้นน้ำบนเขื่อนคอนกรีตหน้าวัด ขนาดความยาว 200 เมตร สูง 2.20 เมตร โดยได้ทำการกรุผ้าใบวางทับด้วยกระสอบทราย พร้อมกับติดตั้งเครื่องยนต์สูบน้ำขนาดใหญ่ ไว้สำหรับสูบน้ำออก ซึ่งเป็นแนวป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ภายในวัด โดยมั่นใจระบบป้องกันน้ำท่วมของกรมฯสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          จากนั้น นายพรพจน์ เพ็ญพาส พร้อมคณะ ลงพื้นที่จุดติดตั้งพนังป้องกันน้ำท่วมชนิดพับเก็บ ที่โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ต.บ้านป้อม โดยมี น.ส.สุกัญญา เบาเนิด ผอ.ศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผอ.อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นำเสนอข้อมูลการป้องกันพื้นที่โบราณสถาน ต่อจากนั้น ได้เดินทางไปยังตลาดเก่าบ้านแพน อำเภอเสนา  เพื่อดูแนวทางการป้องกันน้ำพื้นที่เศรษฐกิจ  โดยมี นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมตรวจแนวคันป้องกันน้ำ  สำหรับพื้นที่คันกั้นน้ำล้อมรอบเขตเศรษฐกิจเสนา ทั้งหมดกว่า 4 กิโลเมตร ซึ่งในปีนี้ประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบป้องกันน้ำท่วมของกรมฯ สามารถป้องกันพื้นที่ชุมชน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต่างรู้สึกดีใจและขอบคุณกรมโยธาธิการและผังเมือง และนายกเทศมนตรีเมืองเสนา พร้อมทีมงานที่สามารถลดความเสียหายได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ

     นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อโบราณสถานที่วัดไชยวัฒนาราม และสถานที่อนุรักษ์สำคัญ ริมแม่น้ำอื่นๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น วัดธรรมาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดพนัญเชิงวรวิหาร และวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ซึ่งกรมฯ ได้ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม โดยใช้พนังป้องกันน้ำท่วมชนิดพับเก็บได้เพื่อลดการบดบังทัศนียภาพของวัด ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงฤดูน้ำหลากหลายปีที่ผ่านมา และในปีนี้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้มีมวลน้ำท่วมสูงขึ้น กรมฯยังมั่นใจระบบป้องกันน้ำท่วมของกรมฯ จะสามารถป้องกันโบราณสถานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ได้สั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประสานกับหน่วยงานต่างๆ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

      นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันน้ำท่วมในลักษณะเดียวกันนี้ ที่กรมฯ ได้ออกแบบและก่อสร้าง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาทิเช่น วัดธรรมาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดพนัญเชิงวรวิหาร และวัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร ซึ่งในขณะนี้บานป้องกันน้ำท่วมทุกแห่งได้เปิดใช้งาน เพื่อการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่สำคัญดังกล่าว ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร และหน่วยงานภายในจังหวัดฯ เฝ้าติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับมวลน้ำที่จะไหลมาเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพิ่มสูงขึ้น

        นอกจากระบบป้องกันน้ำท่วมชนิดพับเก็บได้ที่กรมฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อป้องกันโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว กรมฯ ยังได้ดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมทั้งพื้นที่ชุมชน พื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่ศูนย์ราชการ และพื้นที่โบราณสถานในเขตพื้นที่เกาะเมือง พื้นที่อโยธยา และพื้นที่เสนา – สามกอ  ปัจจุบันการดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม กรมฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว จำนวน 177 พื้นที่ชุมชน (256 โครงการ) ใน 60 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่สำคัญของจังหวัด มีผู้ได้รับประโยชน์ 1,399,694 ครัวเรือน

          ซึ่งกรมฯ ได้ประสานกับแต่ละจังหวัด เพื่อติดตามตรวจสอบโครงการให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ ในส่วนพื้นที่อื่นๆ กรมฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนตามที่ได้รับการเห็นชอบแผนหลักการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ตามความเร่งด่วน โดยพิจารณาให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เจ้าของพื้นที่หน่วยงานภาครัฐ  เอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน และประเทศชาติต่อไป

 

ข่าวล่าสุด


- วันที่[2025-03-21 ] ชลบุรี - \'ตุ้ย-เบียร์\' โชว์วิสัยทัศน์พัฒนาบ้านพี่เมืองน้อง \'บางแสน-พัทยา\'....


- วันที่[2025-02-28 ] ชลบุรี – “เสี่ยเอ้” กาวใจนักธุรกิจภารตะ จัดระเบียบวางแนวทางตั้ง “สมาคมอินเดียภาคตะวันออก” รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย....


- วันที่[2025-02-25 ] เมืองพัทยา - ขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยสู่ Smart Senior ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม....


- วันที่[2025-02-24 ] คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรมวุฒิสภา ลงพื้นที่ติดตามปัญหาการจัดการอุตสาหกรรมและขยะสารเคมี....


- วันที่[2025-02-09 ] เลือกตั้งเป็นเอกฉันท์ “ลักษมัน ซิงห์” นั่งเก้าอี้นายกสมาคมอินเดียพัทยาคนใหม่ ยุบรวมเป็นสมาคมเดียวเพื่อพลังชาวอินเดียขับเคลื่อนเมืองท่องเที่ยว....


- วันที่[2025-02-05 ] จันทบุรี - อ.นายายอาม รณณรงค์ Kick off “หยุดเผา หยุดฝุ่น เพื่อคุณเพื่อเรา”....


- วันที่[2025-02-02 ] ผู้ว่าฯชลบุรี โชว์วิสัยทัศน์ “แนวทางการยกระดับจังหวัดชลบุรีสู่ จังหวัดดิจิทัล”....


- วันที่[2025-02-04 ] อยุธยา – บริษัท โตโยต้าฯ ปิ๊งไอเดียรังสรรค์บรรยากาศจัดงาน “ตรุษจีนกรีนทาวน์ 2025 เที่ยวตรุษจีนแบบ ECO ที่ TOYOYA GREEN TOWN”....


- วันที่[2025-01-26 ] นอภ.บางละมุง-นายกเมืองพัทยา ร่วมเฉลิมฉลองวันสาธารณรัฐอินเดีย ครบรอบปีที่ 76....


- วันที่[2025-01-25 ] ผญบ.สาวหล่อหนองปลาไหล จับมือคู่รักเข้าที่ว่าการฯ ประเดิมสมรสเท่าเทียมคู่แรกอำเภอบางละมุง....


ดูข่าวทั้งหมด