อยุธยา วช. ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เติมกึ๋นนักเรียน นักศึกษา ถ่ายทอดเทคนิคการบินโดรนแปรอักษร เพื่อประยุกต์ สู่การใช้งาน
690 อ่าน
อยุธยา วช. ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เติมกึ๋นนักเรียน นักศึกษา ถ่ายทอดเทคนิคการบินโดรนแปรอักษร เพื่อประยุกต์ สู่การใช้งาน
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม นักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ “การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษร เพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” ภาคกลาง ครั้งที่ 2 ชูโดรนแปรอักษร นวัตกรรมสุดล้ำ 1 เดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลก ระหว่างวันที่ 8 - 10 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
เวลา 09.30 น. วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประธานเปิด “การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” ภาคกลาง ครั้งที่ 2 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และนวัตกรรมที่จะนำองค์ความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน (Drone) ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภาคกลาง โดยเป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านกิจกรรม “โดรนแปรอักษร” โดยมี อาจารย์จิรศักดิ์ ชุมวรานนท์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กล่าวต้อนรับ อาจารย์พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวรายงานฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. นักเรียน นักศึกษา ร่วมในพิธีเปิดการอบรมฯ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีในโลกอนาคต จึงได้ให้การสนับสนุนการจัดการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มาปรับใช้กับการทำงานในงานด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษาให้เกิดการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับอากาศยานโดรน เพื่อสร้างนวัตกรรมในประเทศ ให้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ในด้านนี้ เพิ่มมากขึ้น เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี ด้านการบินในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มีนโยบายที่มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ในการนี้สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรนในประเทศ ที่ประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ กล่าวได้ว่าเป็น “โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลก ซึ่งเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ ได้ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และนวัตกร ที่จะนำความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้กับนักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านกิจกรรม “โดรนแปรอักษร” โดยจัดการอบรมใน ภาคกลาง จำนวน 4 ครั้ง ที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดราชบุรี มีโรงเรียน เข้าร่วมทั้งสิ้น 25 โรงเรียน อบรมครั้งละ 50 คน รวมจำนวนผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้น 200 คน
ทั้งนี้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษร เพื่อประยุกต์สู่การใช้งานที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และแพลตฟอร์มระบบปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาและส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์ทั้งทางธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เทียบเท่าระดับสากลอย่างยั่งยืนต่อไป
ข่าวล่าสุด
- วันที่[2025-04-02 ] นายก อบต.หันตรา ปธ.มอบประกาศนียบัตรบัณฑิตน้อย ผู้ผ่านการพัฒนาการระดับปฐมวัย....
- วันที่[2025-03-04 ] อยุธยา - โรงเรียนเอกอโยธยา ฉลองครบรอบ 19 ปีแห่งความสำเร็จ ก้าวไกล มีคุณภาพ....
- วันที่[2025-03-02 ] อยุธยาซิตี้พาร์ค สนับสนุนนักศึกษา จัดกิจกรรมต่อยอดธุรกิจ สร้างประสบการณ์ระหว่างเรียน....
- วันที่[2025-02-18 ] สถาบันสารสาสน์เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ จับมือกับวิลัยเทคโนโลยีอยุธยา MOU พัฒนาศักยภาพทางวิชาการให้กับนักศึกษา อาจารย์ – บุคลากรทางการศึกษา....
- วันที่[2025-02-11 ] ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อ.เดชอุดม หนุนโครงการพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาคนพิการ....
- วันที่[2025-02-05 ] มทร.สุวรรณภูมิ บูรณาการโครงการ Matching JOB & CWIE Day สร้างโอกาสสู่การทำงานจริง เชื่อมโยงนักศึกษาสู่ตลาดแรงงานอย่างมั่นใจ....
- วันที่[2025-01-29 ] อุบลราชธานี - สกร.เดชอุดม เดินหน้าสร้างสังคมสีขาว หนุนยกระดับสถานศึกษาให้ปลอดยาเสพติดและอบายมุข....
- วันที่[2025-01-17 ] ร.ร.อนุบาลอยุธยา จัดงานวันครู “เรียนดี มีความสุข ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา สร้างเด็กฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”....
- วันที่[2025-01-10 ] ชลบุรี – “นายกฯ พรชัย” ขอบคุณกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ให้ความสำคัญกับประชาชน ผู้เรียนที่ขาดโอกาส-ขาดเงินทุน....
- วันที่[2025-01-10 ] นายกสมาคมการศึกษาเอกชนนอกระบบ (ประเทศไทย) ให้การต้อนรับ ผอ.ฝ่ายกู้ยืม กยศ. พร้อมนำเสนอหลักสูตรการศึกษาอาชีพระยะสั้นใหม่ ผู้ช่วยด้านทันตกรรม....